กลอนเพลงชาวบ้าน
ผู้จัดทำคำนำแบบทดสอบก่อนเรียนมดง่ามกับจักจั่นคนตัดไม้กับเทวาชาวนากับงูเห่าไก่ได้พลอยลากับจิ้งหรีดแบบทดสอบหลังเรียน

กลอนเพลงเพลงชาวบ้าน

 

ลักษณะกลอนเพลง

ประเภทกลอนเพลงปฏิพาทย์

 

ลักษณะบังคับของกลอนสุภาพ 
กระต่ายตื่นตูม 
กลอนบทละคร 
กลอนเพลงชาวบ้าน 

 

กลอนเพลงชาวบ้านเป็นกลอนที่ชาวบ้านใช้ว่าแก้กัน
ระหว่างชายหญิง  เป็นทำนองประชันฝีปาก  เนื้อความ
เป็นการเกี้ยวพาราสีบ้าง  โต้คารมบ้าง เป็นอธิษฐานบ้าง
กลอนเพลงปฏิพาทย์นี้เป็นการเล่นของคนไทย ทั่วไป
ในท้องถิ่นต่างๆ แม้จะเป็นผู้ที่ไม่ได้รับการศึกษา ก็
สามารถว่ากลอนประเภทนี้ได้อย่างคล่องแคล่ว และยัง
ว่าโต้ตอบกันเป็นกลอนสด ด้วย   นับว่าเป็นคูณสมบัติที่
ล้ำค่าอย่างหนึ่ง ที่บรรพบุรุษไทยได้ทิ้งไว้เป็นมรดก
ตกทอดมาถึงคนไทยรุ่นหลัง
กลอนเพลงปฏิพาทย์นี้  บังคับ บาทละ ๒ วรรค จำนวนคำ
ในวรรค มีตั้งแต่ ๔ - ๑๐ คำ ถ้ามีจำนวนคำในวรรคมาก
ก็จะเพิ่มสัมผัสกลางวรรคข้ึนอีกแห่งหนึ่งเพื่อให้เป็น
จังหวะเวลาร้อง บังคับสัมผัส ๒ แห่ง คือสัมผัสระหว่าง
วรรคและสัมผัสท้ายบาท โดยลักษณะเด่นจะอยู่ที่สัมผัส
ท้ายบาท  ซึ่งจะเป็นเสียงสระเดียวกันตลอดบท
 มีคำเรียกสัมผัสโดยเฉพาะนี้  เช่น
ถ้าส่งสัมผัสท้ายบาทด้วยเสียงสระไอก็เรียกว่า"กลอนไล"
 ถ้าส่งสัมผัสท้ายบาทด้วยเสียงสระอี ก็เรียกว่า"กลอนลี"
เป็นต้น
ด้วยเหตุที่ส่งสัมผัสท้ายบาทเป็นเสียงเดียวทุกบาท
จึงเรียกกันว่า "กลอนหัวเดียว"
บทหนึ่งแต่งได้ไม่จำำกัดจำนวนบาท
แล้วแต่เนื้อความของเรื่อง
  (วิเชียร  เกษประทุม  ลักษณะคำประพันธ์ไทย )

     ๑. เพลงฉ่อย
     ๒.เพลงเรือ
     ๓.เพลงปรบไก่
     ๔.เพลงพวงมาลัย
     ๕.เพลงสั่งนาค
     ๖.เพลงอีแซว
     ๗.เพลงเหย่อย
     ๘.เพลงเกี่ยวข้าว
     ๙.เพลงลำตัด
 (วิเชียร  เกษประทุม  ลักษณะคำประพันธ์ไทย )

 

 

 

 

จัดทำโดย ครูไอสุรีย  เรืองรัตน์มณี . และคณะ

กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย โรงเรียนวัดเขมาภิรตาราม ตำบลสวนใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี

Copyright(c)2009 Mrs.Isuree Ruengratmanee.All rights reserved.